RSS

2/23/2010

ประโยชน์การทำดอกไม้ดิน (1) - Benefits of making clay flowers (1)

สวัสดีค่ะ
เพื่อนๆ ได้ชมดอกไม้สวยๆ ที่ทำจากดินญี่ปุ่นมาหลายแบบแล้ว เช่น กุหลาบ บัว กล้วยไม้ ชวนชม ต้นกล้วย ฯลฯ อีกทั้งทราบว่าวัสดุอุปกรณ์ ที่ต้องใช้มีอะไร เพื่อนๆ ทราบไหมว่า การทำดอกไม้ดินให้ประโยชน์อะไรได้บ้าง


1) เพิ่มพูนความรู้
ใครจะทราบว่า นอกจากเราจะได้ดอกไม้ดินญี่ปุ่นที่สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีแล้ว เรายังได้เรียนรู้ว่าดอกไม้นั้น ชื่อว่าอะไร พันธุ์อะไร รู้โครงสร้างของดอกไม้ว่าส่วนไหนเรียกว่าอะไร  อย่าเพิ่งงงนะคะ จะยกตัวอย่างง่ายๆ ให้ฟังค่ะ


สมมุติว่า เราจะทำดอกกล้วยไม้แคทลียา (Cattleya) เราก็จะทราบส่วนประกอบของดอกว่ามีอะไรบ้าง เช่น เริ่มจากการทำเกสร ปาก (Lip) กลีบดอกทั้งห้า (กลีบนอก-Sepal กลีบใน-Petal) หลังจากทำดอกเสร็จแล้ว ก็ทำใบ (Leaf) ต้น (Stalk) หรือที่ศัพท์ทางวิชาการเรียกว่า ลำลูกกล้วย (Psuedo-bulp) และราก(Root) เห็นไหมคะว่าเราได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมขึ้นมาแล้ว จากแรกๆ ที่เรามีความรู้อย่างผิวเผิน



กล้วยไม้นั้นมีหลายพันธุ์ หลายสกุล แต่ที่นิยมทำด้วยดินญี่ปุ่น หรือดินไทยกันมาก ได้แก่ แคทลียา หวาย ฟาแลนนอฟซิส แวนดา ซิมบิเดียม ช้างกระ รองเท้านารี ฯลฯ เรามาดูเรื่องน่ารู้พอสังเขปของกล้วยไม้เหล่านี้กันนะคะ

แคทลียา (Cattleya)
เพื่อนๆ ทราบไหมว่า กล้วยไม้สกุลแคทลียา มีแหล่งกำเนิดมาจากเขตร้อนของทวีปอเมริกา ซึ่งเป็นดินแดนเก่าแก่ของโลก ชาวยุโรปได้นำเข้ามาเผยแพร่ในบ้านเราพร้อมเทคโนโลยีในการปลูกกล้วยไม้สู่เจ้านาย และข้าราชการในระดับสูง ระหว่างที่เดินทางเข้ามาทำงานในไทย

หวาย (Dendrobium)

สกุลเด็นโดรเบียม นิยมเรียกกันจนติดปากว่า หวาย มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ มีการกระจายรูปลักษณะอย่างกว้างขวาง และปัจจุบันประเทศไทยเราส่งออกหวายมากที่สุดในโลก

อ่านถัดไป(Cont)

All texts and images are copyrighted, with all rights reserved.
ข้อความและรูปภาพทั้งหมด มีลิขสิทธิ์ ไม่อนุญาตให้คัดลอกส่วนใดในเว็ปบล็อกนี้ไปเผยแพร่ในทุกรูปแบบ